HOME | ABOUT US | PUBLICATION | NEWSLETTER | MEMBERSHIP | EVENTS | LINKS |CONTACT US
THAI | ENG
FOUNDER
ประวัติผู้ก่อตั้ง

ศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์

พ.บ., พ.ด., Diploma-Chemiker, Dr.rer.nat.

3 กันยายน 2451 - 20 ธันวาคม 2533

 
ประวัติการศึกษา
2475 แพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2478 แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2479 อนุปริญญาโรคเขตร้อน/มหาวิทยาลัยฮัมเบอร์ก
2482 วิทยาลัยศาสตรดุษฎิบัณฑิต และ Diplom-Chemiker, Dr.rer.nat.
 
ประวัติรับราชการ
2476-2486 อาจารย์ตรี-โท-เอก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
2489 หัวหน้าแผนกสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
2495 ศาสตราจารย์แผนกสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
2508 รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
2509 หัวหน้าแผนกเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
2511 เกษียณอายุราชการ
2511 ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย
 
ราชการและหน้าที่พิเศษ
- คณบดี (คนแรก) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 2483-2486
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัย ขอนแก่น และมหาวิทยาลัยศิลปากร
- นายกสมาคมกีฬาเวชศาสตร์ไทย
- นายกสมาคมไทย-เยอรมัน
- นายอาศรมวัฒนธรรมไทย-ภารต
- กรรมการวิจัยกิตติมศักดิ์ สหพันธ์กีฬาเวชศาสตร์เยอรมัน
- นายกสหพันธ์กีฬาเวชศาสตร์แห่งเอเซีย
- ประธานมูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม
- ผู้อำนวยการอายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมรภัจจ์)
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- สมาชิกวุฒิสภา
- กรรมการแพทยสภา ฯลฯ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุด
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
- มหาวชิรมงกุฎ
- ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ)
- เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
- ดาส โกรสเซ่ แฟร์ดีนสทครอยทซ์ (สหพันธรัฐเยรมัน)
 
ผลงานวิจัย วิชาการ และตำรา
ผลงานจำนวนมาก และแพร่หลายในหลายสาขาวิชา อาทิเช่น ผลงานทาง
- สรีรวิทยา
- ชีววิทยา
- Sports Medicine
- Biomedical electronics
เกียรติประวัติ
- ราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาแพทยศาสตร์
- แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
- เภสัชศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
- วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พลศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ศาสตราจารย์ กิตติมศักดิ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- Fellow, World Academy of Art and Science
- Fellow, American College of Sports Medicine
- Corresp. Member, German Pharmacological Society etc.

 

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ดิถี จึงเจริญ (พ.บ., พ.ด., Ph.D.)

22 พฤศจิกายน 2460 - 8 สิงหาคม 2536

ประวัติการศึกษา
2481 แพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2490 แพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
2495 Ph.D. (University of London U.K.)
2523 วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ประวัติรับราชการ
2481 เริ่มรับราชการในแผนกสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
2484 อาจารย์โท แผนกสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
2502 อาจารย์เอก แผนกสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
2504 ศาสตราจารย์ แผนกสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
2509 ศาสตราจารย์ หัวหน้าแผนกสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
2513-2521 ศาสตราจารย์ หัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
2521 เกษียณอายุราชการ

ราชการ-หน้าที่พิเศษ และ เกียรติประวัติ

  • ประธานกรรมการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • ประธานกรรมการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • ประธานโครงการพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตร 2 ปี) มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่ พ.ศ.2503 โดยตลอด
  • ผู้ก่อตั้ง ชมรมสรีรวิทยา และนายกท่านแรก สรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)
  • รางวัลเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี  ในฐานะครูดีเด่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ปีการศึกษา 2512
  • Member of the Society of the Sigma Xi, Temple University Chapter, 2501-จนถึงแก่กรรม
  • ผู้ริเริ่มวิชา อิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
  • ผู้ก่อตั้งหน่วยซ่อมสร้างเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • ผู้ก่อตั้งหน่วยงานช่างประเภทต่างๆ เพื่อบำรุงรักษาซ่อมสร้างเครื่องมือ สำหรับการศึกษาและวิจัย ให้บริการทั้งภายในและภายนอกภาควิชาสรีรวิทยา
  • ประดิษฐ์คิดค้นและปรับปรุงเครื่องมือและเทคนิคต่างๆ สำหรับการทดลองทางสรีรวิทยา
  • ผู้ริเริ่มนำ oscilloscope และ physiograph มาใช้แทนเครื่องบันทึกแบบเก่า
  • ผู้จัดตั้งอาคารเลี้ยงสัตว์ทดลองของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • ผู้ริเริ่มการสอนสรีรวิทยาประยุกต์ และสอนผสมผสาน ระหว่างปรีคลินิกกับคลินิก แก่นักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ชั้นปีที่ 1-3
  • ฯลฯ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุด
มหาวชิรมงกุฏ
ผลงานวิจัย, วิชาการ และตำรา
ผลงานตีพิมพ์และตำราของอาจารย์มีจำนวนมากมาย แพร่หลาย และเป็นแหล่ง อ้างอิงทางวิชาการโดยทั่วไป
อาทิ เช่น ผลงานเกี่ยวกับ
- Cardiovascular Physiology
- Physiology of Aging
- แพทยศาสตร์ศึกษา

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ประสพ รัตนากร

พ.บ., MSc in Medicine (Psychiatry)

24 เมษายน 2463 - 5 มิถุนายน 2555

ประวัติการศึกษา
2486 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
2492-2495 ได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาและฝึกอบรมต่อ ณ Maudsley Hospital and the Institute of Psychiatry,
University of London, University of Edinburgh, Yale University, University of Pennsylvania, Johns Hopkin University
และ University of Washington
  MSc in Medicine (Psychiatry), University of Pennsylvania
  2497 ได้รับประกาศนียบัตรแพทย์เฉพาะทางประสาทวิทยาและจิตวิทยาเป็นคนแรกของไทย
2509 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 9
ประวัติรับราชการ
2487 โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ธนบุรี
2488 ก่อสร้างโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อุบลราชธานี
2498-2523 ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลประสาทพญาไท และ สถาบันประสาทวิทยาในปัจจุบัน
  ผู้อำนวยการกองสุขภาพจิต
  ผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุขเฉพาะกิจ
  ผู้อำนวยการสำนักงานศึกษาป้องกันการติดยา
   

ราชการ-หน้าที่พิเศษ และ เกียรติประวัติ

  • รองเลขาธิการอาหารและยา
  • ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุขทางเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
  • กรรมการก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ หาวิทยาลัยมหิดล
  • ผู้ก่อตั้งและเป็นประธานมูลนิธิวิจัยประสาทในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามพระราชดำริ
  • ผู้ก่อตั้งมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และเป็นประธานมูลนิธิ (พ.ศ. 2527)
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ (จิตวิทยา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุด
  • มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
  • มหาวชิรมงกุฎ
  • ทุติยจุลจอมเกล้า
  • ปฐมดิเรกคุณาภรณ์
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดสำหรับต่างประเทศ จากพระราชาธิบดีโอลาฟแห่งนอร์เวย์
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูง จากสมเด็จพระจักพรรดิ์ญี่ปุ่น
ผลงานวิจัย, วิชาการ และตำรา

มีผลงานด้านจิตวิทยาและประสาทวิทยาศาสตร์จำนวนมากที่ทรงคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการวิชาการและต่อสังคม