HOME | ABOUT US | PUBLICATION | NEWSLETTER | MEMBERSHIP | EVENTS | LINKS |CONTACT US |
สรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ |
|
ความเป็นมาของสรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย |
(คัดจากบทความในการประชุมวิชาการครั้งที่ 9 ของชมรมสรีรวิทยา 10-11 เมษายน พ.ศ. 2523)
ระหว่างที่ข้าพเจ้าศึกษาและฝึกงานในต่างประเทศ ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมทางสรีรวิทยาหลายครั้ง รวมทั้งการประชุม International Congress of Physiological Sciences จึงได้ทราบว่าแต่ละประเทศต่างก็มีสมาคมสรีรวิทยา ประกอบกับการศึกษาวิจัยทางสรีรวิทยามีขอบเขตกว้างขวางและก้าวหน้าไปไกลมาก ทั้งได้เห็นความร่วมมือของนักวิจัยเหล่านั้นอย่างน่าประทับใจ จึงมีความปรารถนาที่จะเห็นวิชาสรีรวิทยาในบ้านเราเป็นปึกแผ่นและก้าวหน้าตามทันต่างประเทศ แต่เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา บ้านเรามีผู้ทำงานในสาขาสรีรวิทยาไม่กี่คน จึงมิได้คิดดำเนินการแต่ประการใด ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 คณะกรรมการจัดการประชุม Regional Meeting of International Union of Physiological Sciences, Sydney, Australia ได้ติดต่อขอให้ช่วยแจ้งข่าวการประชุมแก่ผู้สนใจในประเทศไทย จึงทบทวนดู ก็พบว่าในประเทศเรามีสถาบันใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นและมีอาจารย์รวมเป็นจำนวนไม่น้อย ประกอบกับการรับราชการที่ผ่านมา ได้ประสบกับปัญหาการจัดหาอาจารย์และเครื่องมือเครื่องใช้ ทำให้ตระหนักว่าเป็นการยากที่จะสร้างภาควิชาสรีรวิทยาในสถาบันใดสถาบันหนึ่งให้สมบูรณ์ได้ ทางที่ดีควรรวมกลุ่มและช่วยกันคนละไม้คนละมือตามความถนัดเพื่อความเจริญทางวิชาการของประเทศชาติ จึงถือโอกาสเชิญประชุมหารือเพื่อหาทางจัดการประชุมสรีรวิทยาของเราบ้าง หัวหน้าภาคสรีรวิทยาจากสถาบันต่าง ๆ เห็นชอบด้วยและตกลงให้จัดประชุมวิชาการขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2515 นอกจากการประชุมทางวิชาการแล้ว ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความเห็นชอบในการรวมกลุ่มและให้จัดการประชุมวิชาการเช่นนี้ทุกปี ต่อมาการประชุมครั้งที่ 2 ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้จัด เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2516 ที่ประชุมได้สรุปวัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มว่าเพื่อส่งเสริมการประชุมวิชาการ และเพื่อความสะดวกในการติดต่อกับ International Union of Physiological Sciences โดยได้พิจารณารูปแบบของการรวมกลุ่มว่าควรเป็น 1) ชมรมหรือสมาคม 2) สาขาของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ 3) สาขาของสมาคมอื่น ในที่สุดที่ประชุมได้ลงความเห็นว่าระยะแรกควรก่อตั้งเป็นชมรมก่อน เพราะสะดวกในด้านกฎหมาย และมอบให้หัวหน้าภาควิชาหรือผู้แทนเป็นกรรมการร่างระเบียบข้อบังคับของชมรม ต่อมาการประชุมวิชาการครั้งที่ 3 ภาควิชาสรีรวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2517 ที่ประชุมจึงได้ร่วมกันเสนอร่างระเบียบข้อบังคับของชมรม และกำหนดวัตถุประสงค์ดังนี้
ในการประชุมครั้งนี้ได้แก้ไขระเบียบข้อบังคับบางประการ ต่อมาได้ดำเนินการเลือกตั้งนายกชมรมและแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารตามนัยแห่งระเบียบนั้น การประชุมวิชาการครั้งที่ 4 ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18-19 เมษายน 2518 และที่ประชุมได้พิจารณารับรองระเบียบข้อบังคับของชมรมเป็นที่เรียบร้อย การประชุมวิชาการครั้งที่ 5 ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2519 และตามด้วยการฝึกอบรมเกี่ยวกับอีเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในทางสรีรวิทยา ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการเลือกตั้งนายกชมรมและกรรมการชุดใหม่ การประชุมวิชาการครั้งที่ 6 อาจารย์สรีรวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกันจัดประชุม เมื่อวันที่ 22-23 เมษายน 2520 การประชุมวิชาการครั้งที่ 7 ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดการประชุมขึ้นเมื่อวันที่ 26-28 เมษายน 2521 ที่ประชุมให้ความเห็นว่าชมรมสรีรวิทยาเป็นปึกแผ่นพอสมควรแล้ว และได้ตกลงร่วมกันให้ดำเนินการจัดตั้งเป็น "สมาคม" จึงได้ช่วยกันร่างระเบียบข้อบังคับตามรูปแบบสมาคมทั่วไปและเพิ่มวัตถุประสงค์อีกข้อว่า "เป็นศูนย์กลางติดต่อประสานงานและแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านสรีรวิทยากับสถาบันต่างประเทศ" และได้ยื่นคำร้องขอจัดตั้งสมาคมต่อกองวัฒนธรรม กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2522 โดยมีรายชื่อผู้เริ่มจัดตั้งสมาคม ดังนี้
ต่อมาวันที่ 17 มกราคม 2522 ได้รับหนังสือทักท้วงให้แก้ไขระเบียบข้อบังคับให้ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อแก้ไขแล้วเสร็จ จึงได้ยื่นเพื่อขอรับการพิจารณาใหม่ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2522 สำหรับการประชุมวิชาการครั้งที่ 8 ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27-28 เมษายน 2522 และต่อมาเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2522 เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้แจ้งอนุญาตให้จัดตั้งสมาคมได้และได้ดำเนินการจดทะเบียนสมาคม เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2522 และเมื่อสมาคมมีความแข็งแรงมั่นคงและมีจำนวนสมาชิกมากขึ้น จึงได้เปลี่ยนสถานภาพและเปลี่ยนชื่อเป็น "สรีรวิทยาสมาคม" ในปี พ.ศ. 2523 ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้เพิ่มเติมชื่อสมาคม เป็น "สรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย" หรือใช้ชื่อย่อว่า สสท จวบจนถึงปัจจุบัน จึงนับว่า สสท เป็นองค์กรที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมาก นอกจากการจัดกิจกรรมประชุมวิชาการทางสรีรวิทยาเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 นอกจากนี้ สสท ยังจัดให้มีการอบรมวิชาการทางสรีรวิทยาและพยาธิสรีรวิทยาเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2526 ด้วยความร่วมมือของ คณะวิทยาศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาชิกจากสถาบันต่าง ๆ โดยเฉพาะสถาบันในส่วนกลาง โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมวิชาการและจัดอบรมวิชาการ เพื่อเพิ่มพูนความรู้แก่สมาชิกและผู้สนใจทั่วไปตราบจนปัจจุบัน |
กรรมการสรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย |
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
รายชื่อผู้ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมและเลขาธิการ ในสมัยต่าง ๆ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|